18

 

 

โรคช็อคแดด หรือโรคลมเหตุร้อน (Heat Stroke) เริ่มมีรายงานผู้ป่วยในประเทศไทยตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2530 โรคช็อคแดด คือภาวะอัมพาต (สมองทำงานผิดปกติ) ที่มีสาเหตุจากความร้อน ซึ่งจัดได้ว่าเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์อย่างแท้จริง

เนื่องจากหากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยและรักษาได้อย่างทันท่วงที ก็จะสามารถลดอัตราการเสียชีวิตและความพิการลงได้อย่างมาก

  โรค นี้เกิดจากการได้รับความร้อนมากเกิน ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลัง หรือเล่นกีฬาในภาวะอากาศร้อนจัดเป็นเวลานานอาจเกิดขึ้นได้แม้ผู้ที่มีร่าง กายแข็งแรงเป็นความผิดปกติที่รุนแรงมากที่สุด ทำให้สมองไม่ทำงาน ไม่สามารถควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ เช่น ระบบประสาทส่วนกลาง การทำงานของตับและไต รวมทั้งสูญเสียความสามารถในการควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย ทำให้อุณหภูมิของร่างกายเพิ่มสูงขึ้นผิดปกติเกิน 40 องศาเซลเซียส ถือเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องให้การรักษาอย่างรีบด่วน เนื่องจากมีโอกาสเสียชีวิต 17-70 เปอร์เซ็นต์ 

อาการสำคัญ ได้แก่ ตัวร้อนจัด เพ้อ หรือหมดสติ ชีพจรเต้นเร็ว ความดันเลือดลดลง ช็อก ผิวหนังแห้งและร้อน ระดับความรู้สึกตัวลดลง การทำงานของอวัยวะต่างๆ ล้มเหลว กระสับกระส่าย เอะอะ ก้าวร้าว หมดสติ เกร็ง ชัก

โดยกลไกการทำงานของร่างกายหลังจากที่ได้รับความร้อนจะมีการปรับตัวโดยส่งน้ำหรือเลือดไปเลี้ยงอวัยวะภายใน เช่น สมอง ตับ และกล้ามเนื้อ เป็นต้น ทำให้ผิวหนังขาดเลือดและน้ำไปหล่อเลี้ยง จึงไม่สามารถระบายความร้อนออกจากร่างกายได้ทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น ตัวร้อนจัดขึ้นเรื่อยๆ

สัญญาณสำคัญของโรคนี้คือ ไม่มีเหงื่อออก ตัวร้อนจัดขึ้นเรื่อยๆ ผู้ที่เป็นจะกระหายน้ำมาก ปวดศีรษะ มึนงง วิงเวียน คลื่นไส้ หายใจเร็ว อาเจียน ต่างจากการเพลียแดด หรือเป็นลมแดดทั่วไปที่จะพบมีเหงื่อออกด้วย เมื่อเกิดอาการดังกล่าวจะต้องหยุดพักทันที ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาทันท่วงที จะทำให้เสียชีวิตได้

บุคคลที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรคช็อคแดด ได้แก่ ทหารผู้ที่เข้ารับการฝึกโดยปราศจากการเตรียมสภาพร่างกายให้พร้อมในการเผชิญสภาพอากาศร้อน, นักกีฬาสมัครเล่น และผู้ที่ทำงานในสภาพอากาศที่ร้อนชื้น รวมทั้งมียาที่มักเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคอุณหพาต ได้แก่ แอมเฟตามีน, โคเคน และยาที่ออกฤทธิ์ต้านโคลินเนอร์จิก ได้แก่ tricyclic antidepressant, antihistamine เป็นต้น

ในการช่วยเหลือผู้ที่มีอาการเป็นลมแดด ให้นำผู้ที่มีอาการเข้าร่ม นอนราบ ยกเท้าสูง เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ถอดเสื้อผ้าออก ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบตามซอกตัว คอ รักแร้ เชิงกราน ศีรษะ ร่วมกับการใช้พัดลมช่วยเป่าระบายความร้อน

หรือเทน้ำเย็นราดลงบนตัวเพื่อลดอุณหภูมิของร่างกายให้ต่ำลงโดยเร็วที่สุด และรีบนำส่งโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาโดยเร็วที่สุด ในรายที่อาการยังไม่มากควรให้ดื่มน้ำเปล่าธรรมดามากๆ

 

สิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดอันตรายจากอากาศร้อนจัด ได้แก่ การขาดการปรับตัวให้เข้ากับสภาพอากาศร้อน ประชาชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงร่างกายขาดน้ำได้แก่ เด็ก ผู้สูงอายุ

เนื่องจากร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้ดีเท่าคนหนุ่มสาว ผู้ที่มีโรคประจำตัวได้แก่ โรคความดันโลหิตสูงที่ต้องกินยาควบคุมความดัน เช่น ยาขับปัสสาวะ ซึ่งมีผลขับสารโซเดียมออกจากร่างกายทำให้มีโอกาสเกิดความผิดปกติของระดับเกลือแร่ได้เร็วกว่าผู้อื่น รวมทั้งผู้ที่เป็นโรคอ้วน หรือผู้ที่อดนอน

เนื่องจากจะทำให้ร่างกายตอบสนองต่อความร้อนที่ได้รับช้ากว่าปกติ ส่วนผู้ที่ดื่มสุราหรือเบียร์ ร่างกายจะมีโอกาสสูญเสียน้ำและเกลือแร่สูงกว่าผู้ที่ไม่ได้ดื่ม เพื่อขับแอลกอฮอล์ออกจากร่างกาย

นอกจากนี้เกิดอันตรายได้ในคนอ้วน เนื่องจากมีไขมันที่ผิวหนังมาก ซึ่งทำหน้าที่คล้ายฉนวนกันความร้อน ทำให้คนอ้วนสามารถเก็บความร้อนได้ดี ขณะที่การระบายความร้อนออกทำได้น้อยกว่าคนทั่วๆ ไป นอกจากนี้บริเวณผิวหนังที่มีไขมันมากมักมีต่อมเหงื่อน้อยลงด้วย ดังนั้น คนอ้วนจึงมีโอกาสเกิดปัญหาได้ง่าย

 การปรับสภาพร่างกายเพื่อป้องกันอันตรายในช่วงที่มีอากาศร้อน ที่สำคัญที่สุดคือ จะต้องต้องดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ โดยปกติควรดื่มน้ำให้ได้ 2 ลิตรต่อวัน

หากทำงานในที่ร่มควรดื่มอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว ผู้ที่ดื่มน้ำไม่เพียงพอ จะไม่สามารถปรับตัวให้สู้กับอากาศร้อนได้ เพราะน้ำเป็นตัวควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย

โดยปกติร่างกายจะพยายามปรับอุณหภูมิของร่างกายให้อยู่ที่ 37 องศาเซลเซียส ในการสังเกตว่าร่างกายได้รับน้ำเหมาะสมหรือไม่ให้สังเกตจากสีของปัสสาวะ ถ้าสีเหลืองจางๆ แสดงว่าได้รับน้ำเพียงพอ แต่ถ้าปัสสาวะสีเข้มขึ้น และปัสสาวะออกน้อย แสดงว่าได้รับน้ำไม่เพียงพอ ส่วนการออกกำลังกายสามารถกระทำได้ โดยค่อยๆ ออกกำลังกาย และเพิ่มระยะเวลาการออกกำลังกายขึ้นเรื่อยๆ

ในต่างประเทศเช่นสหรัฐมีรายงานข่าวการเสียชีวิตเนื่องจากโรคนี้ปีละประมาณ 371 ราย สำหรับในบ้านเราอาจจะพูดถึงกันน้อยมากทั้งๆที่เชื่อว่ามีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ไม่น้อยแต่ส่วนใหญ่ มักเป็นผู้สูงอายุ ก็จะมองเห็นเป็นการเสียชีวิตเนื่องจากหัวใจวายการทำงานของหัวใจล้มเหลวไป

ตัวอย่างเช่น เพื่อนบ้านคนหนึ่งซึ่งสูงอายุ แต่ค่อนข้างจะขี้เหนียว อากาศร้อนจัดมากแต่ไม่ยอมเปิดเครื่องปรับอากาศหรือพัดลม จนเกิดอาการเป็นลม ในลักษณะดังกล่าวโชคดีที่แก้ไข ช่วยเหลือได้ทัน


กับอีกเรื่องหนึ่ง คือ การเสียชีวิตของเด็กที่ถูกทิ้งไว้ในรถ หลายคนมักเข้าใจผิดว่าเด็กที่ถูกลืมทิ้งไว้ในรถเสียชีวิตจากขาดอากาศหายใจ แท้จริงแล้วเด็กเหล่านี้เสียชีวิตจากความร้อนสูงเกินขนาด ร่างกายคนเราจะควบคุมอุณหภูมิภายในร่างกายไว้ที่ประมาณที่ 37 องศาเซลเซียส

กลไก การควบคุมมีหลายอย่างเช่นหากอุณหภูมิภายนอกเย็นเกินไป ร่างกายจะปิดกั้นการถ่ายเทความร้อนออกสู่ภายนอกโดยการหดรัดเส้นเลือด ทำให้ปลายมือปลายเท้าซีด มีการสร้างความร้อนภายในทดแทนโดยการสั่นของกล้ามเนื้อ หากความร้อนภายนอกสูงมาก และแผ่รังสีเข้าสู่ร่างกาย ร่างกายต้องกำจัดออกให้ทันเวลาโดยการสร้างเหงื่อและการขยายของเส้นเลือดส่วน ปลายเพื่อระบายความร้อน

กลไกเหล่านี้ของร่างกายจะมีขีดจำกัดในการต่อสู้ เมื่อหนาวมากเกินไป หรือร้อนมากเกินไป กลไกการควบคุมความร้อนของร่างกายก็เสียหาย ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ

พ่อแม่ที่ปล่อยลูกไว้ในรถ ลงไปช็อปปิ้ง อาจเปิดเครื่องยนต์เปิดแอร์ไว้ แต่เครื่องเกิดดับขึ้นมา ชั่วเวลาเพียงไม่นาน อุณหภูมิภายในรถจะสูงขึ้น หากอุณหภูมิภายนอกสูงเช่นในเวลากลางวัน ความร้อนจะยิ่งทวีคูณอย่างรวดเร็ว

อุณหภูมิ ภายในรถอาจสูงขึ้นถึง 5 องศาเซลเซียสภายในเวลา 10 นาทีแรก ในวันที่อากาศภายนอกประมาณ 32 องศาเซลเซียสอุณหภูมิภายในรถสามารถเพิ่มขึ้นถึง 51 องศาเซลเซียสได้ภายในเวลาเพียงยี่สิบนาทีในเด็กอุณหภูมิภายในร่างกายจะปรับ ตัวต่อสู้กับสิ่งแวดล้อมได้ไม่ดีเท่าผู้ใหญ่ดังนั้นอุณหภูมิในร่างกายจะสูง เร็วกว่าผู้ใหญ่ถึงเกือบห้าเท่าตัว

 ลักษณะเวชกรรม

ผู้ป่วยที่เป็นโรคช็อคแดดมักมาด้วยอาการสามอย่างคือ มีไข้สูง (อุณหภูมิแกนสูงกว่า 40.5 องศาเซลเซียส), ระบบประสาทกลางทำงานผิดปกติ และไร้เหงื่อ Cerebellum เป็นสมองส่วนที่ไวต่อความร้อนมากที่สุด จึงอาจพบอาการโซเซ (ataxia) ได้ตั้งแต่ระยะต้นๆ ความผิดปกติทางระบบประสาทที่อาจพบได้ ได้แก่ plantar responses, decorticate และ decerebrate posturing, hemiplegia, status epilepticus และหมดสติ

การดูแลรักษาผู้ป่วยที่แผนกฉุกเฉิน

การกู้ชีพเบื้องต้น

ในเบื้องต้นต้องให้ความเอาใจใส่กับการหายใจ และการไหลเวียนโลหิต ให้มีเสถียรภาพ รวมทั้งให้ออกซิเจน และควรติดตามสัญญาณชีพอย่างต่อเนื่อง โดยใช้ pulse oximetry และ cardiac monitoring ควรเปิดหลอดเลือดดำอย่างรวดเร็ว แต่ต้องระวังการให้สารน้ำ โดยแนะนำให้เริ่มให้สารน้ำด้วย normal saline หรือ lactate Ringer's solution ประมาณ 250 มิลลิลิตรต่อชั่วโมง ถ้าผู้ป่วยสูงอายุหรือมีโรคหัวใจและหลอดเลือด ควรตรวจวัดด้วย pulmonary wedge pressure เพื่อเป็นแนวทางในการให้สารน้ำ รวมทั้งใส่ Foley catheter

นอกจากนี้ต้องมีการตรวจวัดอุณหภูมิแกนเป็นระยะๆ ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดก็คือ การสอด electronic rectal thermometer probe เครื่องวัดอุณหภูมิที่เป็นแก้วอาจเป็นอันตรายในผู้ป่วยที่ชักหรือมีสภาพจิตที่เปลี่ยนแปลงไปได้

วิธีการลดอุณหภูมิกาย

เป้า หมายของการรักษาในเบื้องต้น คือการลดอุณหภูมิแกนกายอย่างรวดเร็วให้ลงมาที่ 40 องศาเซลเซียส ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการใช้วิธีทางกายภาพ แต่ยาลดไข้ใช้ไม่ได้ผล ในโรคช็อคแดดการแช่ผู้ป่วยลงในน้ำเย็นเป็นข้อห้ามสัมพัทธ์หากผู้ป่วยต้องได้ รับการ defibrillation หรือ cardiac monitoring ถ้าผู้ป่วยไม่ได้รับการปกป้องทางหายใจ ไม่ควรสวนล้างกระเพาะอาหารด้วยน้ำแข็ง การล้างช่องเยื่อบุท้องด้วยน้ำแข็งก็มีข้อห้ามสัมพัทธ์ในผู้ป่วยที่ตั้ง ครรภ์หรือเคยได้รับการผ่าตัดช่องท้องมาก่อน

การทำให้เย็นโดยอาศัยการระเหยของน้ำทำได้ด้วยการถอดเสื้อผ้าของผู้ป่วยออกให้หมดแล้วเช็ดตัวผู้ป่วยให้ทั่วด้วยผ้าชุบน้ำหมาดๆ หรือใช้กระบอกพ่นละอองน้ำ พรมให้ทั่วตัวผู้ป่วย ซึ่งอาจใช้กระบอกพลาสติก เช่นเดียวกับการพรมน้ำเสื้อผ้าเตรียมรีด ตั้งพัดลมให้เป่าที่ตัวผู้ป่วยโดยตรงตลอดเวลา อย่าปกคลุมตัวผู้ป่วยด้วยผ้าแล้วทำให้เปียก

เนื่องจากจะขัดขวางการระเหยของน้ำจากผิวหนัง มีภาวะแทรกซ้อนเพียงสองอย่างเท่านั้นที่อาจเกิดได้จากการทำให้เย็น โดยอาศัยการระเหยของน้ำ คือการสั่น (shivering) และไม่สามารถติด cardiac electrode ที่ผิวหนังด้านหน้าของผู้ป่วยได้

อาการ สั่นสามารถบำบัดได้ด้วยการให้ยา benzodiazepine เข้าหลอดเลือดดำ และ cardiac electrode สามารถติดที่ด้านหลังตัวผู้ป่วยได้ การล้างกระเพาะอาหารด้วยน้ำผสมน้ำแข็งอาจทำได้อย่างปลอดภัยในผู้ป่วยที่ใส่ ท่อหลอดลมแล้ว การทำให้เย็นด้วยการล้าง ช่องเยื่อบุท้องด้วยน้ำแข็งก็เป็นวิธีการที่มีประสิทธิผลและทำให้ส่วนกลาง ของร่างกายเย็นลงอย่างรวดเร็ว

วิธีการลดอุณหภูมิกายดังกล่าว ควรหยุดเมื่ออุณหภูมิแกน ซึ่งวัดทางทวารหนักลดลงถึง 40 องศาเซลเซียส เพราะหากยังคงดำเนินวิธีการทำให้เย็นต่อไปจนต่ำกว่าอุณหภูมิดังกล่าวนี้ มักทำให้เกิดภาวะอุณหภูมิต่ำเกินไป (overshoot hypothermia) ได้


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคลมแดด

แม้ในผู้ป่วยที่อายุน้อยและมีสุขภาพดีมาก่อนก็อาจพบภาวะหัวใจวาย, ปอดบวมน้ำ และการทรุดลงของระบบหัวใจและหลอดเลือด ในทุกอายุการมีภาวะความดันโลหิตต่ำ, ปริมาณเลือดออกจากหัวใจลดลง และการลดลงของหทัยดัชนี บ่งชี้ถึงการพยากรณ์โรคที่แย่ ในกรณีดังกล่าวนี้ อาจมีความจำเป็นต้องใช้สายสวน Swan Ganz เพื่อประเมินการให้สารน้ำอย่างเหมาะสม

 ความผิดปกติของตับและไตอาจพบได้ในผู้ป่วยโรคอุณหพาต อุณหภูมิที่สูงอาจก่อให้เกิดภยันตรายได้โดยตรง ก่อให้เกิด Centrilobular necrosis เป็นผลให้ตรวจพบการทำงานของตับผิดปกติได้ แต่มักไม่ใคร่พบว่าเป็นดีซ่าน การตรวจปัสสาวะมักพบ microscopic hematuria, proteinuria, hyaline และ granular casts ได้อย่างรวดเร็ว

ผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนด้วยภาวะพร่องปริมาตรและมีปริมาณเลือดที่ไปสู่ไตลดลง อาจเกิด acute tubular necrosis ได้ โรคช็อคแดด ที่เกิดจากการออกกำลังกายมักแทรกซ้อนด้วยการสลายตัวของกล้ามเนื้อ บางครั้งมี myoglobinuria อย่างมาก และมีภาวะไตวาย ภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวนี้อาจไม่ได้เกิด ในช่วงแรก แต่อาจพบได้ในหลายวันหลังจากการได้รับภยันตราย

ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการตรวจวัดระดับ creatinine phosphokinase และการตรวจหน้าที่ไต เป็นระยะอย่างต่อเนื่อง การตรวจสภาพการแข็งตัวของเลือดอาจพบ thrombocytopenia, hypoprothrombinemia และ hypofibrinogenemia ความร้อนอาจทำภยันตรายต่อเยื่อบุหลอดเลือดทำให้เกร็ดเลือดเกาะกลุ่มเพิ่มขึ้น capillary permeability เปลี่ยนแปลงไป, โปรตีนในพลาสมาถูกทำลายจากความร้อน ซึ่งเป็นผลให้ระดับ clotting factor ลดลง และอาจพบภาวะ disseminated intravascular coagulation หรือ fibrinolysis ได้

 

แนวทางการป้องกันการเจ็บป่วยจากความร้อน

- เตรียมสภาพร่างกายให้พร้อมที่จะเผชิญสภาพอากาศร้อน โดยการออกกำลังกายกลางแจ้งอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้งๆ ละอย่างน้อย 30 นาที เพื่อให้ร่างกายปรับสภาพให้เคยชินกับอากาศร้อน (heat acclimatization)

- ดื่มน้ำ 1-2 แก้ว (ประมาณ 300 มล.) ก่อนออกจากบ้านในวันที่มีอากาศร้อนจัด และหากต้องอยู่ท่ามกลางสภาพอากาศร้อนหรือออกกำลัง ควรดื่มน้ำให้ได้ชั่วโมงละประมาณ 1 ลิตร (4-6 แก้วต่อชั่วโมง) แม้ไม่รู้สึกกระหายน้ำก็ตาม

- สวมใส่เสื้อผ้าที่มีสีอ่อน ไม่หนา น้ำหนักเบา และสามารถระบายความร้อนได้ดี

- ใช้โลชั่นกันแดดที่มีค่าเอสพีเอฟ ตั้งแต่ 15 ขึ้นไป ก่อนออกจากบ้าน

- หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดในวันที่อากาศร้อนจัด โดยเฉพาะช่วงเวลา 10-15 นาฬิกา

- หลีกเลี่ยงการกินยาแก้แพ้ ลดน้ำมูก โดยเฉพาะก่อนการออกกำลังกาย หรือต้องอยู่ท่ามกลางสภาพอากาศร้อน หรืออยู่กลางแดดเป็นเวลานานๆ

- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และยาเสพติดทุกชนิด

- ในเด็กเล็ก และคนชราที่ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย ควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษโดย

พยายามจัดให้อยู่ในสภาพแวดล้อม หรือห้องที่มีอากาศระบายได้ดี

ในเด็กอาจต้องกำหนดให้มีระยะพักระหว่างการเล่นทุก 1 ชั่วโมง และให้ดื่มน้ำ 1 แก้วในระหว่างพัก

อย่าเพิกเฉยต่อความรู้สึกร้อน หรือเหนื่อยเกินไป ของเด็กและคนชรา

อย่าปล่อยให้เด็กหรือคนชราอยู่ในรถที่ปิดสนิทตามลำพัง

 

ตะคริว (Heat cramps)

 

เป็นตะคริวเนื่องจากออกกำลังกายมากหรืออยู่ในสภาพอากาศร้อนจัด และได้รับสารน้ำไม่เพียงพอ กล้ามเนื้อจะมีการเกร็ง โดยเฉพาะกล้ามเนื้อขา หน้าท้อง หลัง


การดูแลเบื้องต้น

ให้พัก ดื่มน้ำเกลือแร่ ยืดกล้ามเนื้อส่วนที่เป็นตะคริว หากไม่หายใน 1 ชม ให้พบแพทย์

 เพลียจากลมแดด (Heat Exhaustion)

 เป็นภาวะที่มีอาการน้อยที่สุดที่เกิดจากภาวะอากาศร้อน ผู้ป่วยมักจะอยู่ในสภาพอากาศที่ร้อน และได้รับสารน้ำไม่เพียงพอ มักจะเกิดในคนสูงอายุ คนที่มีความดันโลหิตสูง และอยู่ในที่อากาศร้อนเป็นเวลานาน

สาเหตุ

จากสภาวะอากาศที่ร้อน และมีความชื้นสูง และร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนออกจากร่างกายด้วยวิธีการขับเหงื่อ ประกอบกับเรารับประทานน้ำและเกลือแร่ไม่พอ

อาการแสดงที่บอกเราว่าจะเกิดภาวะนี้ได้แก่

- เหงื่อออกมาก หน้าซีด

- ตะคริว อ่อนเพลีย

- มึนงง ปวดศีรษะ

- คลื่นไส้อาเจียน เป็นลม

หากเราตรวจดูผู้ป่วยพบว่า ผิวเย็นชื้น ชีพจรเร็วและเบา หายใจถี่ให้น้ำดื่ม อาจจะเป็นน้ำเกลือแร่ก็ได้ นอนพัก ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัว หรืออาบน้ำ นอนในห้องที่ใช้เครื่องปรับอากาศ สวมเสื้อบางๆ ห้ามใช้แอลกอฮอล์เช็ดตัว

 จะไปพบแพทย์เมื่อใด

หากผู้ป่วยมีโรคประจำตัว ซึม ไม่รู้ตัว ดื่มน้ำได้น้อย ปวดท้องหรือแน่นหน้าอก

ขอขอบคุณ
พ.อ.นพ.สุรจิต สุนทรธรรม
วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า

************************************************************************************************************

 

เคล็ดลับการลดปริมาณของเสีย 10 ข้อ 

 


1. ติดป้าย "เราจะใช้ซ้ำ" ไว้บนกล่อง หรือซองเอกสารที่ใช้ส่งภายในและภายนอกบริษัท - ลูกค้าส่วนใหญ่จะชื่นชมในการปฏิบัติเพื่อลดปริมาณขยะดังกล่าวนี้

2. เขียนข้อความลงในด้านหลังของกระดาษสำหรับการใช้งานเล็กๆ น้อยๆ หรือใช้งานทั่วไป แทนการเขียนบนกระดาษแผ่นใหญ่เต็มแผ่น

3. ตรวจสอบดูว่าเครื่องโทรสาร เครื่องถ่ายเอกสาร และเครื่องพิมพ์ได้รับการตั้งค่าที่จะไม่ทำให้กระดาษที่ออกมามีพื้นที่ส่วน หัวกระดาษมากเกินไปหรือไม่

4. ให้มีผู้รับผิดชอบคนหนึ่ง (หรือหลายๆ คนก็ได้) ในการคอยตรวจสอบประสิทธิภาพของการลดปริมาณของเสีย

5. ให้รางวัลแก่พนักงานแต่ละคน (หรือแต่ละแผนก) ที่มีผลงานลดปริมาณของเสียดีเด่นหรือดีเลิศ โดยอาจเป็นการให้ของรางวัล เช่น ให้บัตรของขวัญเล็กๆ น้อยๆ แก่ผู้ที่ปฏิบัติได้ดี

6. จัดการประกวดหรือแข่งขันต่างๆ เพื่อให้พนักงานเกิดความสนใจในแผนการจัดการของเสียของบริษัท

7. ให้ข้อมูลอัพเดตเกี่ยวกับความคืบหน้าของความสำเร็จของแผนการให้แก่พนักงาน ได้รับทราบ (อาจใช้แผนภาพ เช่น เทอร์โมมิเตอร์ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความคืบหน้าของการดำเนินการ) การติดตามความคืบหน้าของความสำเร็จนี้นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งในการที่จะ ทำให้พนักงานมีความสนใจอยู่เสมอและรวมถึงแสดงให้พนักงานได้เห็นถึงความจริง จังในการดำเนินการของบริษัทด้วย


8. จัดโปรแกรมพาพนักงานของคุณเข้าตรวจเยี่ยมชมโรงงานรวบรวมหรือรีไซเคิลขยะ ซึ่งอาจเป็นการจุดประกายให้แก่พนักงานให้มีความสนใจในแผนการด้านการจัดการของเสียมากยิ่งขึ้น

9. แบ่งเงินส่วนที่ได้จากการลดต้นทุนจากการแยกขยะของเสีย (การรีไซเคิล หมายถึง บริษัทได้เสียค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะน้อยลง) ให้แก่พนักงานโดยให้เป็นสินน้ำใจจากการช่วยกันรีไซเคิลดังกล่าว นอกจากนี้ เงินดังกล่าวนี้อาจให้ในลักษณะการจัดงานเลี้ยงให้แก่พนักงานหรืออาจเป็นการ บริจาคเพื่อการกุศลใดๆ ตามที่พนักงานของคุณเลือกมาก็ได้ และรวมถึงอาจสามารถจัดทำแผนการให้รางวัลแก่พนักงานดีเด่นที่มีการดำเนินการ เป็นพิเศษเพื่อช่วยให้สถานที่ทำงานของคุณ "มีความสะอาดมากขึ้น"

10. ร่วมกับบริษัทข้างเคียงในการพิจารณาถึงประเภทของของเสียที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของคุณ คุณอาจสามารถเข้าร่วมในแผนการนำสิ่งของกลับมาใช้ซ้ำ (เช่น ถังขยะทั่วไป 1 ใบอาจสามารถใช้งานได้ร่วมกันทั้งอาคารโดยใช้สำหรับการทิ้งสิ่งของที่เป็นวัตถุอินทรีย์) และร่วมกันออกค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง

ที่มา:ฝ่ายบริการวิชาการ siamsafety.com

*******************************************************************************************

 

       การพัฒนาและรักษาไว้ซึ่งทัศนคติความปลอดภัยที่ดีเป็นเสาหลักของความปลอดภัยในการทำงาน กลยุทธ์ง่ายๆ 6 ข้อต่อไปนี้ จะช่วยให้คุณสามารถลดอันตราย ป้องกันอุบัติเหตุ และสร้างที่ทำงานที่ปลอดภัยได้ดียิ่งขึ้น

1. คุยเกี่ยวความปลอดภัยให้มากๆ

ยิ่งคุณพูดถึงความสำคัญของความปลอดภัยมากขึ้นเท่าไร คุณจะกระตุ้นการพูดคุยเรื่องความปลอดภัยของผู้บริหาร หัวหน้างาน และพนักงานมากขึ้นเท่านั้น เมื่อคุณพูดถึงความปลอดภัยบ่อยขึ้น คุณก็สร้างความสนใจ ข้อสรุป และแบ่งปันข้อมูลมากขึ้น แค่พูดถึงความปลอดภัย ก็ดึงความสนใจและสร้างความสำคัญให้กับความปลอดภัย ไม่น่าแปลกใจว่า ในที่ที่ปลอดภัยที่สุด ผู้คนพูดคุยเรื่องความปลอดภัยตลอดเวลา

2. กระตุ้นให้มีการเสนอแนะด้านความปลอดภัย


ที่ หน้างาน เรารู้กันดีว่า ตัวพนักงานรู้ดีที่สุดเกี่ยวกับสภาพการทำงานและความไม่ปลอดภัยที่มีอยู่ที่ หน้างาน โดยเฉพาะพนักงานที่มีความชำนาญและมีประสบการณ์สูง คุณจะต้องฟังพวกเขากระตุ้นให้พวกเขาคุยกับคุณว่าพวกเขามีความคิดว่าจะทำให้ งานของพวกเขาหรือของคนอื่นๆ มีความปลอดภัยมากขึ้นได้อย่างไร

วิธีไม่ได้เป็นวิธีการที่ยอดเยี่ยมในการปรับปรุงสภาพการทำงานที่ปลอดภัยเท่านั้นแต่ยังให้พนักงานมีส่วนร่วมในกระบวนการปรับปรุงด้วย

 


3. ดำเนินการแก้ไขอันตรายและปรับปรุงสภาพการทำงานให้ปลอดภัยอย่างทันท่วงที

เมื่อใดก็ตามที่คุณพบอันตรายหรือพนักงานแจ้งให้คุณทราบเกี่ยวกับอันตราย คุณต้องดำเนินการทันที ถ้าคุณไม่เข้าไปแก้ปัญหาความปลอดภัยโดยทันที (ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่เล็กน้อย) พนักงานจะคิดว่าคุณไม่เอาใจใส่ แล้วทำไมพวกเขาต้องใส่ใจด้วย ถ้าคุณเพิกเฉยต่อปัญหาความปลอดภัย พนักงานก็จะเพิกเฉยด้วย

 
4. ให้ข้อมูลและการอบรมด้านความปลอดอย่างเพียงพอ

คุณต้องแน่ใจว่าพนักงานมีทักษะ ความรู้ และความเข้าใจเพียงพอที่จะทำงานได้อย่างปลอดภัย และทำงานได้โดยไม่เกิดอุบัติเหตุ พนักงานที่ทราบข้อมูลหรือได้รับการอบรมอย่างดีจะพัฒนาทัศนคติด้านความปลอดภัยได้อย่างรวดเร็ว และจะคิดว่าความปลอดภัยเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็น


5. ชื่นชมหรือให้รางวัลกับการปฏิบัติงานที่ปลอดภัย

มองหาพนักงานที่ทำสิ่งที่ปลอดภัย และทำให้เห็นว่าสิ่งที่พนักงานทำนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญ ชื่นชมการปฏิบัติงานที่ปลอดภัยให้ดังๆ และชัดเจน ใช้วิธีการประชาสัมพันธ์ต่างๆ เพื่อให้ทุกคนได้ยิน ได้ทราบถึงสิ่งดีๆ ที่พนักงานทำนั้นโดยทั่วกัน เมื่อพนักงานที่มีทัศนคติที่ไม่ดีหรือเฉยๆ เห็นว่าผู้ที่มีทัศนคติที่ดีได้รับการยกย่อง พวกเขาจะอยากที่จะได้รับการยกย่องบ้าง

อีกทั้งต้องทำให้พนักงานและหัวหน้างานเกิดความชัดเจนว่า การปฏิบัติงานอย่างปลอดภัยเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของการประเมินผลการปฏิบัติงาน เมื่อพนักงานตระหนักว่า การขึ้นเงินเดือน การปรับตำแหน่ง และรางวัลอื่นๆ ขึ้นอยู่กับการมีทัศนคติด้านความปลอดภัยทีดี พวกเขาก็จะมีความจริงจังกับการทำงานอย่างปลอดภัยมากขึ้น

6. สร้างตัวอย่างที่ดี

ต้องแน่ใจว่าผู้จัดการและหัวหน้างานทุกท่านทั่วทั้งที่ทำงานเป็นตัวอย่างที่ดีและแสดงถึงทัศนคติด้านความปลอดภัยที่ดีเสมอ พนักงานจะสังเกตเห็นและเลียนแบบพฤติกรรมที่ปลอดภัยของพวกเขา


6 กลยุทธ์ง่ายๆ เหล่านี้ ที่เราอยากจะฝากไว้ในใจเพื่อนๆ ที่เป็นผู้บริหารงานความปลอดภัยทุกๆ ท่าน และหมั่นหยิบทั้ง 6 กลยุทธ์เหล่านี้มาทบทวนเสมอๆ ว่า เราได้ทำครบถ้วนทั้ง 6 ข้อ และทำดีที่สุดของที่สุดแล้วหรือยัง

ฝ่ายบริการวิชาการ siamsafety.com

 

********************************************************************************************************************

5 คำแนะนำ สำหรับสร้างความสำคัญให้กับแผนการสร้างความต่อเนื่องทางธุรกิจ

 

                    เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนในการจัดทำแผนการสร้างความต่อ เนื่องทางธุรกิจ แนะนำให้นำเสนอผู้บริหารมองว่าแผนการสร้างความต่อเนื่องทางธุรกิจนี้จะทำให้ บริษัทของคุณสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้


                   ผู้บริหารในบริษัทหรือเจ้าของกิจการบางแห่ง หรือเรียกได้ว่าหลายๆ แห่ง มักไม่เห็นความสำคัญของการวางแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ หากผู้บริหารในบริษัทเน้นนึกถึงตัวเงินก่อนเรื่องอื่นเสมอ เรื่องของแผนการความต่อเนื่องทางธุรกิจนี้ก็จะกลายเป็นเรื่องของการติดขัด ทางธุรกิจเสียมากกว่า อันที่จริงแล้ว เรื่องความต่อเนื่องทางธุรกิจนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญชัดเจนพอ สมควร แต่เมื่อจะพิจารณาอนุมัติงบประมาณให้ดำเนินการสำหรับเรื่องนี้แล้ว บางที่อาจไม่ได้รับการตอบรับจากผู้บริหารที่ดีนัก

 

                   ถ้า หากว่าคุณต้องการสร้าง “กรณีศึกษาทางธุรกิจ” ที่มีประสิทธิภาพสำหรับเรื่องความต่อเนื่องทางธุรกิจนั้น คุณจำเป็นต้องทำให้คุณประโยชน์ของเรื่องนี้เห็นเป็นรูปธรรมจับต้องได้ก่อน ที่อุบัติภัยจะเกิดขึ้น ซึ่งก็หมายความว่าการเน้นความสำคัญนั้นคงจะไม่เน้นไปเพียงแค่เรื่องการ บรรเทาความเสี่ยงอันตรายเท่านั้น

                   หากแต่จะต้องเน้นไปที่คุณค่าทางธุรกิจ และความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจที่แผนการความต่อเนื่องทางธุรกิจที่มี ประสิทธิภาพจะสามารถทำให้เกิดขึ้นได้ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว คนมักจะคิดกันว่าเรื่องการสร้างความต่อเนื่องทางธุรกิจนี้เป็นเรื่องที่มี ค่าใช้จ่ายสูง เป็นเรื่องไกลตัวหรือเป็นเรื่องที่เราจะต้องทำเพียงแค่ให้ผ่านๆ ไปเท่านั้น

                   ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว เรื่องความต่อเนื่องทางธุรกิจนี้ถือเป็นการสร้างโอกาสทางธุรกิจและเป็นการทำ ให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน 

5 คำแนะนำ สำหรับสร้างความสำคัญให้กับแผนการสร้างความต่อเนื่องทางธุรกิจ ได้แก่

1) ใช้กฎหมายให้เป็นประโยชน์        ข้อ กำหนดตามกฎหมายนั้นเป็นจุดเริ่มต้นที่ชัดเจนที่สุดในการขอรับการสนับสนุนการ วางแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ ในบางอุตสาหกรรมนั้น กฎหมายจะกำหนดไว้ชัดเจนถึงยุทธศาสตร์ด้านความต่อเนื่องทางธุรกิจของคุณ โดยเฉพาะถ้าหากว่าบริษัทของคุณอยู่ในภาคอุตสาหกรรมด้านการดูแลสุขภาพ การเงินหรือการรับประกันภัย ความจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติให้สอดคล้องตามกฎหมายจะเป็นสิ่งกำหนดให้คุณอาจ ต้องมีการเตรียมความพร้อมสำหรับการฟื้นฟูหลังอุบัติภัยผ่านไป

 คำแนะนำก็คือ คุณจะต้องทำให้เรื่องของกฎหมายนี้เป็นสิ่งที่มีประโยชน์เมื่อคุณกำลังพยายาม ขอรับการสนับสนุนจากกรรมการและผู้บริหารรายอื่นๆ ในองค์กรของคุณ และคุณเองจะต้องทำให้ตัวเองมีความรู้อย่างดีเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับอุตสาหกรรมของคุณ ทั้งกฎหมายที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันและกฎหมายที่อาจมีการออกมาใช้ในอนาคตด้วย


2) สร้างแผนการสร้างความต่อเนื่องทางธุรกิจที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมของบริษัทของคุณ

                   เมื่อคุณได้เริ่มต้นในขั้นตอนแรกแล้ว ให้คุณก้าวออกมาจากกรอบและความคิดของตัวเอง และให้มองว่าเรื่องความต่อเนื่องทางธุรกิจนี้จะมีคุณลักษณะที่แตกต่างกันออก ไปในสายตาแต่ละคน รูปแบบของแผนการความต่อเนื่องทางธุรกิจที่คุณได้ออกแบบไว้และวิธีการนำเสนอ แผนการของคุณนั้น จะเป็นไปตามวัฒนธรรมและโครงสร้างองค์กรของบริษัทของคุณ

                   การที่คุณเข้าใจในรูปแบบทางวัฒนธรรมของ บริษัทเช่นนี้จะช่วยให้คุณสามารถสร้างแผนการที่จะได้รับแรงต้านจากส่วนอื่นๆ ในบริษัทของคุณไม่มากนักนั่นเองให้คุณมองไปที่แผนกต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทของคุณว่าพวกเขาให้ความสำคัญกับเรื่องใดเป็นลำดับ ก่อนหลังบ้าง? ส่วนงานใดที่สำคัญมากที่สุด? เมื่อคุณได้คำตอบ ก็ให้คุณเริ่มต้นจากจุดนั้น


3) ขอรับการสนับสนุนโดยการเข้าพบกับบุคลากรในแผนกต่างๆ
                   แผนการสร้างความต่อเนื่องทางธุรกิจที่ดีนั้นจะต้องเป็น แผนการที่มีความสอดคล้องในแนวทางเดียวกันทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการรักษาความปลอดภัย ด้านไอที และยุทธศาสตร์และนโยบายขององค์กร ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าคุณจะต้องให้ความสำคัญในทุกด้านโดยการเข้าพบกับบุคลากร ในแต่ละแผนกของบริษัท พยายามทำความเข้าใจในมุมมองหรือความคิดเห็นของผู้นำในแต่ละแผนกเหล่านั้นและ ทำให้ความเข้าใจในความคาดหวังเกี่ยวกับความต่อเนื่องทางธุรกิจของพวกเขาด้วย


                   โดยปกติแล้ว จะมีช่องโหว่ขนาดใหญ่ระหว่างผู้บริหารของฝ่ายอื่นๆ กับผู้บริหารของฝ่ายไอที/ความปลอดภัยเสมอ และคุณจะต้องทำให้ช่องโหว่นี้หายไปให้ได้คุณจะต้องเข้าหาเพื่อพูดคุยกับ บุคลากรเหล่านี้อย่างระมัดระวังและต่อเนื่องเพื่อให้ทุกคนได้ทราบถึงความจำ เป็นในด้านการรักษาความปลอดภัยที่อาจมีการเปลี่ยนไปจากเดิม ถ้าหากว่าบริษัทไม่มีการสื่อสารกับฝ่ายไอที ยุทธศาสตร์ความต่อเนื่องทางธุรกิจก็จะมีจุดบกพร่องทันทีและมีความเป็นไปได้ ที่อาจทำให้เกิดผลลัพธ์ทางธุรกิจตามมาที่เลวร้ายได้

                   ทั้งนี้สิ่งที่สำคัญกว่านั้นก็คือถ้า หากว่าบริษัทของคุณไม่มีผู้บริหารที่เชื่อว่าแผนการนี้เป็นสิ่งที่มี ประโยชน์และสามารถตอบสนองต่อความจำเป็นของบริษัทได้แล้ว คุณก็อาจจะไม่ได้รับเงินสนับสนุนสำหรับการจัดทำแผนการนี้ของคุณก็ได้


4) ยืดหยุ่น

                   คุณ จะต้องบอกแก่บรรดาผู้บริหารว่าแผนการสร้างความต่อเนื่องทางธุรกิจนั้นไม่มี สูตรสำเร็จตายตัวที่สามารถใช้ได้กับทุกองค์กร การขอรับการสนับสนุนสำหรับการจัดทำแผนการความต่อเนื่องทางธุรกิจนั้นไม่ได้ หมายความว่าคุณกำลังขอบริษัทให้ดำเนินการกับโครงสร้างพื้นฐานทุกอย่างใน ลักษณะเดียวกันทั้งหมดแต่อย่างใด
เมื่อคุณต้องจัดการกับเรื่องหนึ่งๆ ไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องดำเนินการดังกล่าวกับข้อมูลและระบบทั้งหมดแต่อย่างใด

                   การสร้างวิธีการแบบผสมผสานจะช่วยให้ บริษัทมั่นใจว่าบริษัทกำลังใช้จ่ายเงินออกไปอย่างเหมาะสมตามหลักการและ นโยบายของบริษัท
และแน่นอน เมื่อผู้บริหารรู้สึกเช่นนี้ แผนการของคุณก็จะได้รับการยอมรับมากยิ่งขึ้น

                   การมีระบบที่มีความยืดหยุ่นเช่นนี้จะมี ความสำคัญมากยิ่งขึ้นไปอีกเมื่อความเสี่ยงอันตรายได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ภัยธรรมชาติต่างๆ อาทิเช่น พายุและแผ่นดินไหว ถือเป็นเพียงส่วนหนึ่งของความเสี่ยงที่มาพร้อมกับความเสี่ยงในด้านการรักษา ความปลอดภัยของข้อมูล กล่าวคือ โอกาสที่ศูนย์ข้อมูลใดๆ จะถูกเจาะระบบรักษาความปลอดภัยนั้นมีมากกว่าโอกาสที่ศูนย์ข้อมูลนั้นจะถูกไฟ ไหม้นั่นเอง อันตรายต่างๆ อาจมาได้จากทุกหนทุกแห่งบนอินเตอร์เน็ท สิ่งนี้นี่เองที่เป็นตัวกำหนดให้จะต้องมีการตรวจสอบและประเมินแผนการอย่าง ต่อเนื่องเมื่อมีการจัดทำแผนการขึ้นมาแล้ว


5) หาวิธีที่จะนำเรื่องความต่อเนื่องทางธุรกิจใส่เพิ่มเข้าไปในบรรทัดฐานของบริษัท


                   เคล็ด ลับข้อสุดท้าย ให้คุณพยายามทำให้เรื่องความต่อเนื่องทางธุรกิจนี้เป็นส่วนหนึ่งในการดำเนิน ธุรกิจของบริษัท ไม่ใช่เป็นส่วนเกิน และหนทางหนึ่งที่จะทำให้เหล่าผู้บริหารมองเห็นเรื่องนี้ก็คือทำให้พวกเขา เห็นว่าการที่บริษัทมีแผนการที่มีประสิทธิภาพนั้นจะสามารถปกป้องคุ้มครอง บรรทัดฐานของบริษัทได้อย่างไร และการที่มีแผนการสร้างความต่อเนื่องทางธุรกิจที่ดีนั้นจะสามารถช่วยได้แม้ กระทั่งบริษัทที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่อีกด้วย

 

 

 

 

*************************************************************************************************************

 

 

 

 



Register
Forgot Password ?

Vol.1Vol.2

Copyright 2009 by HASLA l Login
Powered By Bighead
สมาคมผู้ประกอบธุรกิจวัตถุอันตราย (Hazardous Substances Logistics Association)
ที่อยู่: 86/6 อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน ซอยตรีมิตร ถนนพระราม 4 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กทม 10110
โทรศัพท์: 02-712-4226 โทรสาร: 02-712-4227 E-Mail : hasla@hasla.or.th Website : www.hasla.or.th
เวลาทำการ: จันทร์-ศุกร์ เวลา 09:00-16:30